ไทแสก

ไทแสก

แสก เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่พูดภาษาในตระกูลไท-กะได ปัจจุบันชาวแสกอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันภาษาแสกถูกจัดเป็นหนึ่งในสิบห้ากลุ่มภาษาในภาวะวิกฤตใกล้สูญ เนื่องจากภาษาแสกนั้นมีใช้แต่เฉพาะภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีภาษาเขียน
จัดทำโดย: 
บัวฉัฐ วัดแย้ม

ชาวแสกในประเทศไทยเล่าต่อ ๆ กันมาว่าถิ่นฐานเดิมของชาวแสกอยู่ในประเทศเวียดนาม ต่อมาได้ฆ่าช้างเผือกของกษัตริย์เวียดนามเพื่อนำมาเป็นอาหาร เมื่อกษัตริย์เวียดนามทราบเรื่องพระองค์โปรด ฯ ให้ชาวแสกชดใช้เงินจำนวนมากเกินกว่าที่ชาวแสกจะหามาได้ แต่ได้มีข้าราชการชาวเวียดนามคนหนึ่งที่ชาวแสกเรียกว่า “องค์มู่” ให้ชาวแสกยืมเงินเพื่อนำไปชดใช้แก่กษัตริย์เวียดนาม ชาวแสกจึงเคารพนับถือและสำนึกในบุญคุณขององค์มู่มาก หลังจากเหตุการณ์นั้นชาวแสกก็อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยที่บ้านอาจสามารถ และยังระลึกถึงบุญคุณขององค์มู่อยู่เสมอ โดยชาวแสกบ้านอาจสามารถได้สร้างศาลองค์มู่ขึ้นที่นิมแม่น้ำโขงและทำพิธีบวงสรวงวิญญาณขององค์มู่เป็นประจำทุกปี

เดิมชาวแสกมีวัฒนธรรมประเพณีหลายอย่างที่แตกต่างไปจากชาวไทยอีสานและชาวไทยที่อื่น ๆ แต่ปัจจุบันชาวแสกมีวัฒนธรรมและประเพณีที่คล้ายคลึงกับคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาก ประเพณีที่ถือเป็นลักษณะเฉพาะของชาวแสกคือ ประเพณีสังเวยผีหรือเหลี่ยงเดน จัดขึ้นในวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี เป็นต้น

ปัจจุบันในประเทศมีจำนวนผู้พูดภาษาแสกประมาณ 3,000 กว่าคนใน 4 หมู่บ้านของจังหวัดนครพนม โดยมีบ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า เป็นหมู่บ้านหลักที่ยังคงใช้ภาษาแสกในชีวิตประจำวัน ภาษาแสกจึงถูกจัดให้เป็นภาษาที่อยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญหาย อย่างไรก็ตามชาวแสกบ้านบะหว้า ได้มีความพยายามในการฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยผ่านการดำเนินงานในรูปแบบงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นตั้งแต่ปี 2553 - 2561 ภายใต้โครงการ “แนวทางการจัดทำพจนานุกรมภาษาแสกฉบับชาวบ้าน เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาแสกบ้านบะหว้า ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม” และโครงการ “ฟื้นฟูภาษาแสกสู่เยาวชน : ร้อง เล่น เต้นรำ ไทแสก” ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น และได้รับการสนับสนุนทางด้านวิชาการจาก ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษา – วัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อ้างอิง

ดุจฉัตร จิตบรรจงและสุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2557). “ภาษาแสก” ใน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ พิธีประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี พ.ศ. 2557. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (หน้า 247 – 248).

หัวข้อ: 
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
พจนศิลป์
สรุป
การแสดงกลองเลงหรือออนซอนกลองเลง เป็นวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทแสก สืบทอดมาจากประเทศลาว
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
พจนศิลป์, การละเล่น
สรุป
ประเพณีแสกเต้นสาก เป็นประเพณีที่มีการสืบทอดกันมานาน แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาวแสก ตามปกติใช้รำเพื่อบวงสรวงเจ้าที่หรือศาลเจ้าในวันสังเวยผี
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
เรื่องเล่า
สรุป
เรื่องเล่าชวนหัววิถีชีวิตของหนุ่มสาวชาวแสกในงานบุญพรรษา
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
เรื่องเล่า
สรุป
เรื่องเล่าชวนหัวของผัวเมียคู่หนึ่งที่ผัวได้ดี เพราะเมียมีไหวพริบในการพูด
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
เรื่องเล่า
สรุป
เรื่องเล่าอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม ในความทรงจำวัยเด็กของลุงบุญมี ก้อนกั้น
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
ขั้นตอน
สรุป
สัมภาษณ์การทำขนมเกฺาโค̄บ(ข้าวพอง) เป็นภาษาแสก เกฺาโค̄บ เป็นขนมโบราณของชาวไทแสก ใช้ในงานบุญและงานมงคล (งานบุญผะเหวด)
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
เรื่องเล่า
สรุป
เรื่องเล่าการอพยพและการตั้งถิ่นฐานของชาวแสก