ตัวหนังสือที่ติดคว่ำ

สรุป: 
ความหมายของตัวอักษรจีนที่ติดคว่ำลงตอนเทศกาลตรุษจีน เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการของคนที่ไม่รู้หนังสือ แต่ด้วยเสียงที่พ้องกันกับความหมายที่ดีจึงได้นำมาใช้จนถึงปัจจุบัน
รายละเอียด: 

ตามธรรมเนียมที่สืบทอดมา พันกว่าสองพันปี เวลาตรุษจีน ปีใหม่หรือที่เรียกกันว่า ชุนเจียด คนจีนมักจะเอากระดาษสีแดงเขียนคำอวยพรติดไว้ที่ประตูหน้าบ้านสองข้าง บางครั้งก็เขียนตัวหนังสือตัวเดียวคำว่า “ฝู้” มีความหมายว่า “ความสุข บุญ วาสนา” ติดไว้ที่หน้าบานประตูใหญ่หน้าบ้าน  คำว่า “ฝู้”นี้ ปัจจุบันนำมาติดคว่ำตัวหนังสือลง มีคนไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำอย่างนี้ ความจริง มีมาตั้งแต่สมัยแมนจูแล้ว เวลาถึงตรุษจีน ครอบครัวที่มีฐานะในปักกิ่ง ครั้งหนึ่ง เขาก็นำเอาตัวหนังสือนี้ไปติดทั่วบ้าน โดยให้คนใช้ไปติด พอดีมีคนใช้คนหนึ่งไม่รู้หนังสือ นำตัวหนังสือไปติดคว่ำลง เจ้าของบ้านเห็นก็โมโห เจ้าของบ้านจะนำไม้ไปตีคนใช้คนนั้น แต่หัวหน้าคนใช้เห็นเข้าก็เข้ามาห้าม แล้วรีบบอกว่า เมื่อกี้มีคนที่เดินผ่านมา ร้องทักว่า “ฝู้เต้าเลอ” ซึ่งแปลได้สองความหมาย คือหมายถึง ติดตัวหนังสือคว่ำ และอีกความหมายคือ ความสุขมาถึง (ซึ่งเป็นเสียงที่พ้องกัน) ทั้งสองความหมายนี้ มีเสียงเหมือนกัน แต่เขียนหนังสือไม่เหมือนกัน แต่มีความหมายที่ดี และมีคนพูดอย่างนี้ตลอด เมื่อเจ้าของบ้านได้ยินดังนั้นก็ดีใจ แทนที่จะตีคนใช้คนนั้นกลับให้เงินเป็นของขวัญ ตั้งแต่นั้นมาก็มีคนนำไปทำเป็นแบบอย่างบ้าง ซึ่งมีความหมายว่า “ความสุขมาถึงแล้ว”

ตำแหน่งที่ตั้ง: 
รายละเอียดตำแหน่งที่ตั้ง: 

99/7 พระปิ่นเกล้า บางกอกน้อย กรุงเทพมหานครฯ