ปลัง

ปลัง

ภาษาปลัง (Plang) หรือบางคนออกเสียงว่าปลั่ง เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic language family) สาขาปะหล่อง
จัดทำโดย: 
Field Linguistics Research Practicum 62

ภาษาปลัง

ภาษาปลัง (Plang) หรือบางคนออกเสียงว่าปลั่ง เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic language family)สาขาปะหล่อง ภาษาปลังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงท้องถิ่น (dialect) ได้อีก มีอย่างน้อย 7 สำเนียงท้องถิ่นคือ กอนตอย , จงมอย , สะแตง , แพมยอง , กอนมาก , ปังโลฮ์ , กอนกาง มีประชากรประมาณ 100,000คน

ชาวปลังส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนของประเทศพม่าเชื่อมต่อกับประเทศจีน และได้อพยพมาอยู๋ในประเทศไทยเนื่องจากภาวะสงคราม เมื่อชาวปลังเดินทางมาถึงประเทศไทย ก็จะแยกย้ายไปอยู่กับญาติพี่น้องหรือคนรู้จักที่เคยมาตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทยก่อนแล้ว เช่น จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

ชาวปลังที่อาศัยอยู่บริเวณเขตกรุงเทพและนครปฐม ส่วนใหญ่ยังมีการติดต่อสื่อสารกัน ทั้งในระดับเครือญาติ และระดับเพื่อนฝูงที่เป็นชาวปลังด้วยกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการพบปะกันในการทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น ชาวปลังที่นับถือคริสต์ ก็มีโอกาสพบกันวันอาทิตย์ที่โบสถ์ ชาวปลังที่นับถือศาสนาพุทธก็มีโอกาสพบปะกันตามพิธีทางศาสนาในวัด ปัจจุบันชาวปลังที่นับถือศาสนาพุทธ ยังคงมีความเคร่งครัดโดยเฉพาะการเข้าร่วมในการประกอบพิธีทางศาสนา หรือในวันสำคัญต่าง ๆ แต่มีการปรับเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน เช่น การทำอาหารถวาย ก็จะนิยมทำตามแบบคนไทย เป็นต้น

ประเพณีที่สำคัญของชาวปลัง เช่น เดือนเมษายน (เดือน 6) เป็นประเพณีสงกรานต์ มีการรดน้ำดำและขอขมาต่อหัวผู้สูงอายุ  เดือนพฤษภาคม (เดือน 7) ชาวปลังเริ่มปลูกข้าวไร่บนภูเขา เดือนมิถุนายน (เดือน 8) มีประเพณีคารวะ หรือการขอขมาซึ่งกันและกัน ทั้งภายในหมู่บ้าน และต่างหมู่บ้าน เดือนกรกฎาคม (เดือน 9) มีกิจกรรมเข้าพรรษา ชาวปลังส่วนใหญ่นิยมเข้าวัดเพื่อไปทำบุญ เป็นต้น

ชาวปลังส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ข้าว ถั่ว มันสำปะหลัง พริกและงา ปัจจุบันชาวปลังอาศัยอยู่ในเมือง มีอาชีพรับจ้าง ส่งลูกหลานเข้าโรงเรียน เด็กและเยาวชนชาวปลังจึงไม่กล้าที่จะพูดภาษาปลัง ทำให้ภาษาและวัฒนธรรมของชาวปลังถดถอยหรืออาจจะสูญหายได้ถ้าไม่มีการธำรงค์รักษาไว้

 

เอกสารอ้างอิง

Suriya Ratanakul (1988) Languages in Southeast Asia Part 1. Research Center of Southeast Asian Cultures, Mahidol University, Thailand, 1988.

บุญชัย แสงเพชรวรกุล และคณะ (ม.ป.ป.) โครงการ “อนุกรักษ์และฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นปลังผ่านการเรียน การสอนในชุมชน พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล”

หัวข้อ: 
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
เรื่องเล่า
สรุป
เรื่องราวเกี่ยวกับแม่หม้ายคนหนึ่ง มีลูกสาวสองคน ได้สอนว่าเวลาเราทำงานเราต้องขยันและมีมารยาทเพราะใครพบเห็นก็อยากจะให้เราทำงานด้วย ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ที่ไหนแต่ถ้าเราขยันเราก็จะไม่อด เราจะได้มีกินในทุกวัน
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
เพลง
สรุป
เราเป็นพี่น้องกันเมื่อมีการพบปะกันเราจะชื่นชมยินดีด้วยกัน เราจะร่วมสนุกกันเพราะนานๆทีจะได้เจอกันหนึ่งครั้ง เวลาเราอย่ชายแดนระหว่างรอยต่อประเทศจีนกับพม่า เราได้กินแต่ข้าวเหนียวนานๆทีจะได้กินข้าวจ้าว พอมาอยู่ในประเทศไทยเราได้กินทุกวัน